“กระเบื้องเคลือบ” ปรางค์วัดอรุณ เทคนิคจีน “แต้จิ๋ว-ฮกเกี้ยน”?
รูปแบบการประดับตกแต่งประเภทหนึ่งที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 คือ การประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ ซึ่งเป็นการนำเอาถ้วยชามหรือเศษชิ้นส่วนภาชนะดินเผามาประกอบกันเป็นลวดลาย ที่เห็นได้บ่อยคือการตกแต่งหน้าบันของอาคาร และประดับบนผิวของเจดีย์-ปรางค์ ดังตัวอย่างที่ปรางค์วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ
ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง เสนอไว้ในหนังสือเรื่องรู้เรื่องสถูปเจดีย์ว่า เทคนิคการประดับดังกล่าวนี้ น่าจะมีที่มาจากเทคนิคการประดับตกแต่งในศิลปะจีน หรือที่เรียกว่า “เซี่ยนฉือ” ดังที่ ดร.อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช ผู้เชี่ยวชาญศิลปะจีน ได้อธิบายไว้ว่า เทคนิคนี้แพร่หลายในศิลปะจีนในเขตแต้จิ๋ว-ฮกเกี้ยน ซึ่งนิยมนำมาใช้ประดับตกแต่งหลังคาของศาลเจ้าจีน
อ่านรายละเอียดของเรื่องนี้ และประเด็นอื่นๆ ได้อีกในหนังสือ “รู้เรื่องสถูปเจดีย์” โดย ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง ผลิตโดยสำนักพิมพ์มิวเซียมเพรส