ประติมากรรม “พระร่วง-พระลือ” คือรูปแทนองค์ “พ่อขุนราม-พญาลิไทย”

ประติมากรรม “พระร่วง-พระลือ” คือรูปแทนองค์ “พ่อขุนราม-พญาลิไทย”

ประติมากรรม “พระร่วง-พระลือ”
คือรูปแทนองค์ “พ่อขุนราม-พญาลิไทย”

                ในสุโขทัยมีตำนานท้องถิ่นเรื่องหนึ่งที่รู้จักกันทั่วไปคือ “ตำนานพระร่วง” ตำนานเรื่องนี้กล่าวถึง กษัตริย์สุโขทัย ๒ พระองค์ ชื่อว่า "พระร่วง" กับ "พระลือ" ซึ่งในตำนานเล่าว่าเป็นพี่น้องกัน 
                อ.ธีระวัฒน์ แสนคำ อธิบายไว้ในหนังสือ “พระมหาธรรมราชาลิไทยฯ” ว่า พระร่วง พระลือ เป็นชื่อกษัตริย์ในตำนานมุขปาฐะท้องถิ่นในสุโขทัย โดยเชื่อว่าสื่อถึงกษัตริย์สำคัญของสุโขทัย ๒ พระองค์ นั่นคือ พระร่วง หมายถึง พ่อขุนรามคำแหง ส่วนพระลือ หมายถึง พญาลิไทย(ลือไทย) ซึ่งทั้งหมดเป็นการนำเอากษัตริย์องค์สำคัญมาเล่าขานใหม่ในแบบท้องถิ่น ในฐานะเป็นวีรบุรุษทางวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นของตน
                อ.ธีระวัฒน์ อธิบายว่า เดิมได้มีการสร้างประติมากรรมขึ้นจำนวน ๒ องค์ เรียกว่า “พระร่วง พระลือ”  สลักขึ้นจากงาช้าง ประดิษฐานอยู่ที่ศรีสัชนาลัย แต่ต่อมาสมเด็จพระนเรศวรได้อัญเชิญมายังกรุงศรีอยุธยา ซึ่งปัจจุบันได้สูญหายไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ต่อมาเมืองศรีสัชนาลัยได้สร้าง “พระร่วง พระลือ” ขึ้นใหม่ เป็นพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร สำริด จำนวน ๒ องค์ ตั้งอยู่เคียงคู่กัน ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง แต่ปัจจุบันได้ย้ายมาประดิษฐานที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย
                พระพุทธรูป ๒ องค์นี้ คงเป็นประติมากรรมแทนองค์กษัตริย์ หรือ “พระพุทธรูปฉลองพระองค์”  สื่อถึงพ่อขุนรามคำแหง และ พญาลิไทย เหมือนกับคติที่พบในสมัยรัตนโกสินทร์นั่นเอง
อ่านรายละเอียดของเรื่องนี้และประเด็นอื่นๆ ได้อีก ในหนังสือ “พระมหาธรรมราชาลิไทย ปฐมมหาธรรมราชาแห่งอาณาจักรสุโขทัย” เขียนโดย อาจารย์ธีระวัฒน์ แสนคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จัดพิมพ์โดย วัดพระบรมธาตุ จังหวัดกำแพงเพชร

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้