มี "ศิลปะจีน" ใน "พระพม่า"
มีที่มาจาก "การทูตแบบพุทธ" ของราชวงศ์ชิง
จากการศึกษาของนักประวัติศาสตร์ศิลปะพบว่า พระพุทธรูปศิลปะพม่ามีรูปแบบที่สัมพันธ์ใกล้ชิดกับศิลปะจีนเป็นอย่างมาก โดยพบหลักฐานอย่างชัดเจนตั้งแต่ศิลปะคองบองตอนกลางเป็นต้นมา
ดร.สุระ พิริยะสงวนพงศ์ อธิบายไว้ในหนังสือเรื่อง “พระพุทธรูปศิลปะพม่า” ว่า พระพุทธรูปของพม่าตั้งแต่สมัยคองบองตอนกลางเป็นต้นมา (ราวสมัยอยุธยาตอนปลาย) น่าจะได้รับอิทธิพลทางด้านรูปแบบหลายประการมาจากศิลปะจีน ซึ่งเป็นรัฐทรงอิทธิพลขนาดใหญ่ที่มีพรมแดนเชื่อมติดกันทางด้านเหนือ
ในหนังสือเล่มนี้ ได้อธิบายถึงสาเหตุของการแพร่เข้ามาของศิลปะจีนดังกล่าวนี้ว่า น่าจะเป็นผลมาจาก “การทูตแบบพุทธ” (Buddhist Diplomacy) ตามที่มีนักวิชาการบางท่านเคยเสนอมาก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นนโยบายทางการทูตของจีนในสมัยราชวงศ์ชิงที่ต้องการเชื่อมสัมพันธ์กับพม่าโดยใช้ศาสนาเป็นตัวเชื่อม ตัวอย่างของ “การทูตแบบพุทธ” เช่น ในรัชสมัยพระเจ้าปดุง จีนได้มอบ “พระทันตธาตุ” ซึ่งเป็นพระบรมสารีริกธาตุสำคัญให้แก่พม่า ซึ่งได้สร้างความยินดีให้แก่พม่าเป็นอย่างมาก เข้าใจว่ากิจกรรมทางศาสนาของทางการจีน คงเป็นแรงบันดาลใจสำคัญให้แก่ศิลปะพม่านับแต่นั้นมา โดยพบอิทธิพลศิลปะจีนที่มีต่อพระพุทธรูปพม่าแพร่หลายสืบมาถึงสมัยมัณฑเล
อ่านรายละเอียดของเรื่องและประเด็นน่าสนใจอื่นๆ อีก ได้ในหนังสือ “พระพุทธรูปศิลปะพม่า” โดย ดร.สุระ พิริยะสงวนพงศ์ ผลิตโดยสำนักพิมพ์มิวเซียมเพรส