“คันฉ่องพิศวง” ฉายภาพที่ “ถูกซ่อน” เมื่อต้องแสงไฟ

“คันฉ่องพิศวง” ฉายภาพที่ “ถูกซ่อน” เมื่อต้องแสงไฟ

“คันฉ่องพิศวง” ฉายภาพที่ “ถูกซ่อน” เมื่อต้องแสงไฟ

      คันฉ่อง(กระจก)สำริด กำเนิดขึ้นราว 2000 ปีมาแล้ว แรกเริ่มพบในอียิปต์ ลุ่มน้ำสินธุ และต่อมาแพร่หลายอย่างมากในจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ในด้านประติมานวิทยาเป็นสัญลักษณ์แห่งความสัตย์และภูมิปัญญา คันฉ่องเหล่านี้ด้านหนึ่งจะขัดเงาและเคลือบด้วยปรอท ทำให้กลายเป็นกระจกเงา ส่วนด้านหลังหล่อเป็นลวดลายต่างๆ

        คันฉ่องเหล่านี้สร้างขึ้นด้วยเทคนิคพิเศษคือ ทำด้วยแผ่นโลหะซ้อนกันเป็นชั้น เมื่อนำด้านกระจกเงากระทบกับแสงไฟหรือแสงแดด จะเกิดแสงสะท้อนไปกระทบที่ผนัง ฉายเป็นภาพตามลวดลายที่อยู่ด้านหลัง ขณะที่คันฉ่องบางชิ้นมีลักษณะพิเศษยิ่งขึ้นอีกคือ ไม่ได้ฉายภาพตามลวดลายที่อยู่ด้านหลัง แต่ฉายภาพที่ซ่อนอยู่ในคันฉ่อง เช่น ภาพพระอมิตาภะของคันฉ่องที่จัดแสดงใน Cincinnati Art Museum สหรัฐอเมริกา หรือบางชิ้นที่พบในประเทศญี่ปุ่น เป็นภาพพระเยซูคริสต์บนไม้กางเขน ซึ่งได้รับการอธิบายว่า เป็นคันฉ่องของคริสตชนชาวญี่ปุ่นในสมัยเอโดะ สำหรับใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา ในช่วงที่ถูกทางการญี่ปุ่นกีดกันห้ามนับถือศาสนาคริสต์ จนทำให้ชาวญี่ปุ่นเหล่านี้ต้องหลบซ่อนทำพิธีกรรม หรือที่เรียกว่าชาว “Hidden Christian”

ที่มาภาพ

ภาพ 1. artandculture.google.com คันฉ่องพบในประเทศญี่ปุ่น ฉายภาพพระเยซูบนไม้กางเขน

ภาพ 2. cincinnatiartmuseum.org คันฉ่อง คริสตศตวรรษที่ 15-16 จัดแสดงที่ cincinnati art museum สหรัฐอเมริกา

ภาพ 3. คันฉ่อง สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โตเกียว

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้