“พนัสบดี” สัตว์ผสม นก+งู+หมู สัญลักษณ์โลภ โกรธ หลง?
โบราณวัตถุสมัยทวารวดีที่โดดเด่นกลุ่มหนึ่งคือ พระพุทธรูปปางแสดงธรรมยืนเหนือสัตว์รูปร่างพิสดาร (นักวิชาการตั้งชื่อให้ว่า พนัสบดี) และขนาบด้วยพระโพธิสัตว์ สันนิษฐานกันว่า พระพุทธรูปกลุ่มนี้เดิมเคยประดับอยู่ที่ดุมล้อของธรรมจักร
สัตว์พิสดารดังกล่าวนี้ ดูคล้ายกับสัตว์หลายชนิดผสมกัน จนเป็นที่ฉงนว่าหมายถึงสัตว์ประเภทใดแน่ และมีความหมายอย่างไร
ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ เสนอไว้ในหนังสือ ศรีเทพทวารวดี ราชธานีแห่งแรกของสยามว่า สัตว์ชนิดนี้น่าจะหมายถึง นก งู และหมู เป็นไปตามที่อธิบายไว้ในพระวินัยของนิกายมูลสรรวาสติวาทซึ่งเป็นนิกายที่แพร่หลายในทวารวดี โดยระบุว่า ตรงกลางของ “ภาวจักร” (ธรรมจักร) ซึ่งหมายถึงดวงอาทิตย์ (เป็นสัญลักษณ์ของแสงสว่างแห่งการดับทุกข์หรือความมืด) จะมีรูปของพระพุทธองค์ พร้อมด้วยสัตว์ 3 ชนิด คือ นก งู หมู โดยสัตว์ 3 ชนิดนี้เป็นสัญลักษณ์สื่อถึงมาร (โลภ โกรธ หลง)